วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล

1. ถ้าลูกบอลทำให้ตาข่ายฉีกขาดหรือทำให้ตาข่ายหลุด ให้ยกเลิกการเล่นลูกนั้นและให้เริ่มเล่นใหม่
2. ผู้ที่รับลูกเสิร์ฟจากฝ่ายตรงข้าม จะทำการสกัดกั้นหรือตบลูกบอลไม่ได้
3. แต่ละทีมจะขอเวลานอกได้ ๒ ครั้งต่อเซต
4. เมื่อลูกบอลพุ่งไปถูกตาข่ายและเป็นเหตุให้ตาข่ายไปถูกฝ่ายตรงข้ามถือว่าไม่ ผิดกติกา
5. ผู้เล่นถูกตาข่าย ในกรณีที่มีการเล่นลูกในแถวหน้า ถือว่าผิดกติกา
6. ผู้เล่นถูกลูกบอลในแดนของฝ่ายตรงข้าม ก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของฝ่ายตรงข้ามถือว่าผิดกติกา
7. การเล่นลูกบอลคนเดียวติดต่อกันสองครั้ง เช่น ตั้งลูกเองแล้วตบลูกบอล ถือว่ผิดกติกา
8. หากฝ่ายรับบล็อกลูกบอลกลับไปถูกศีรษะของผู้ที่ตบลูกบอลมา แล้วลูกบอลเคลื่อนไปถูกเสาอากาศ ลักษณะนี้ถือว่าฝ่ายตบทำลูกบอลออกเพราะลูกบอลถูกเสาอากาศแล้ว
9. ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามแล้ว โดยบางส่วนหรือทุกส่วนของลูกบอลอยู่ภายนอกพื้นที่สำหรับข้ามตาข่าย อาจนำกลับมาเล่นได้อีก ถ้าผู้เล่นไม่ถูกด้านเดียวกันสนาม ฝ่ายตรงข้ามจะกีดขวางการเล่นลูกนี้ไม่ได้
10. ในเซตตัดสิน ทีมใดทำคะแนนได้ ๘ คะแนน ให้ทำการเปลี่ยนแดนทันที และตำแหน่งของผู้เล่นให้เป็นไปเหมือนเดิม


ทักษะการเล่นวอลเลย์บอล


การตบ (Spike) เป็น ทักษะที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจในการแข่งขัน เป็นทักษะที่จูงใจให้เด็กๆ อยากเล่นวอลเลย์บอลมากที่สุด สำหรับเนื้อหาในตอนนี้เป็นภาพรวมในด้านต่างๆ เรื่องการตบเพื่อให้ผู้ฝึกสอนหรือนักกีฬาได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกซ้อม ต่อไป
โครงสร้างกระบวนการตบ  
มีการะบวนการขั้นตอนดังนี้ 
การเคลื่อนที่เข้าตบ (Approach)
การเตรียมกระโดด (take-off) และกระโดด (jump)
การเคลื่อนไหวของแขนและลักษณะการตบ
การลงสู่พื้น (landing) และเคลื่อนที่เพื่อเล่นบอลลูกต่อไป
ท่าทางสำหรับการกระโดด 
ใน การกระโดดให้ได้สูงนั้นต้องใช้พลังและการทำงานที่ประสานกันของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นการจัดตำแหน่งของร่างกายให้ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน หากผู้เล่นจัดตำแหน่งร่างกายไม่ดี งอตัวมุมของลำตัวมากหรือน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้กระโดดได้ไม่สูง

การบังคับทิศทางการตบ 
การ บังคับทิศทางการตบบอลเพื่อให้ลูกบอลพุ่งไปยังทิศทางที่ต้องการนั้น มี 2 วิธี คืออาจใช้วิธีการตบโดยสัมผัสบอล ณ ตำแหน่งต่างๆ ของลูกบอล เช่น ซ้าย กลาง หรือขวา ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นการบังคับทิศทางการตบด้วยทิศทางการเข้าตบบอล มีวิธีการ 3 แบบดังนี้ 
1. การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวตรง
การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวตรงเพื่อให้ทิศทางลูกบอลพุ่งตรงไปข้างหน้า
การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวทแยงมุม
การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวทแยงมุมเพื่อให้ลูกบอลพุ่งไปตามแนวทแยงของฝั่งคู่ต่อสู้
2. เคลื่อนที่แนวเส้นโค้ง
 เป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะแนวโค้งเพื่อตบบอลทแยงมุม
3. เคลื่อนที่แนวตรงแต่เปลี่ยนเท้าขณะกำลังกระโดด 
การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวตรงแต่ในจังหวะสุดท้ายก่อนกระโดดจะวางเท้าทแยงมุม เมื่อกระโดดลอยตัวอยู่บนอากาศลำตัวจะทแยงมุมกับตาข่าย

การตบเบาหรือหยอด 
มี หลายครั้งที่เราจะเห็นว่าในการแข่งขันวอลเลย์บอลนั้น วิธีการเคาะบอลหรือหยอด มีประสิทธิภาพในการโจมตีคู่ต่อสู้มากกว่าการตบบอลหนัก ทุกๆ ทีมต้องมีจุดอ่อนที่ผู้เล่นสามารถใช้การหยอดโจมตีได้  ดังนั้นการฝึกวิธีการหยอดก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถนำไปใช้ในการแข่งขันจริงได้

เทคนิคการตบเมื่อคู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ดี 
เมื่อ คู่แข่งเป็นผู้เล่นที่มีความสูง มีการสกัดกั้นที่ดี ผู้เล่นตัวตบต้องพยายามเล่นบอลโดยไม่ให้เสียคะแนนจากการสกัดกั้น โดยอาจจะใช้วิธีการตบบอลดังนี้ 
การตบบอลให้สัมผัสแนวสกัดกั้นออก หรือที่เรียกกันว่า ตบทัชบอล
การ เคาะบอลเบาๆ กระทบแนวสกัดกั้นเพื่อให้บอลกระดอนกลับมาให้เพื่อนร่วมทีมสามารถนำมาเล่นได้ อีกครั้ง เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากการสกัดกั้นของคู่ต่อสู้ 

การตบบอลเร็ว (Quick spike)
การ ตบบอลเร็วเป็นเทคนิคการตบที่อาจทำให้ผู้สกัดกั้นไม่สามารถสกัดกั้นได้ทัน การตบบอลเร็วจะใช้ได้ดีสำหรับทีมที่มีการฝึกซ้อมกันมาเป็นอย่างดี โดยรูปแบบตำแหน่งการตบบอลเร็วพื้นฐานหลักๆ มีอยู่ 4 แบบ
บอล A หน้า (Quick A)  บอลเร็วด้านหน้าใกล้ตัวเซต
บอล X หน้า (Quick B)  บอลเร็วด้านหน้าห่างตัวเซต
บอล A หลัง (Quick C)  บอลเร็วด้านหลังใกล้ตัวเซต
บอล X หลัง (Quick D)  บอลเร็วด้านหลังห่างตัวเซต
หมายเหตุ  A และ X เป็นรหัสที่รู้จักกันในประเทศไทย ส่วนในวงเล็บเป็นรหัสที่เรียกกันสากลทั่วไป
วิธี การตบบอลเร็วนั้นนักกีฬาที่มีศักยภาพสามารถพลิกแพลงเทคนิควิธีการเล่นบอล เร็วได้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น การเล่นบอลเร็วด้านหลังด้วยวิธีการก้าวเขย่งตบ เป็นต้น 

ประวัติวอลเลย์บอล


วอลเลย์บอล (อังกฤษ: volleyball) เป็นกีฬาที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ทีม ทีมละ 6 คน โดยแบ่งเขตจากกันด้วยเน็ตสูง การทำคะแนนจากลูกบอลที่ตกในเขตแดนของฝ่ายตรงกันข้าม
กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกาเป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้
เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุต 1 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบ ลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ
จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโทเนตต์" (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น
ปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล